ประวัติสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย

ประวัติสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย

เนื่องจากในปี พ.ศ. 2533 ได้เกิดการเรียกร้องของเกษตรกรชาวสวนยาง ขอความเป็นธรรมจากราคายางที่ตกต่ำ โดยมีการปิดทางรถไฟที่ชุมทางรถไฟทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งนายบรรหาร ศิลปอาชา
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในสมัยนั้น และเป็นผู้รับผิดชอบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ได้เดินทางไปแก้ปัญหา และมีความเห็นว่าควรจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายยางแห่งชาติ (กนย.) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาเรื่องยาง ซึ่งการจัดตั้งนั้นต้องประกอบด้วยตัวแทนรัฐบาล ตัวแทนพ่อค้ายางและตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยาง แต่จากการสำรวจปรากฏว่ายังไม่มีผู้แทนเกษตรกรชาวสวนยาง
ในระดับประเทศ ดังนั้น นายบรรหาร ศิลปะอาชา รัฐมนตรีฯ จึงสั่งให้นายอุดร ตันติสุนทร รัฐมนตรีช่วยฯ ดำเนินการจัดตั้งสถาบันเกษตรกรระดับประเทศ เพื่อเข้าไปเป็นคณะกรรมการนโยบายยางแห่งชาติ (กนย.)
โดยให้กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ดำเนินการ จากการสำรวจปรากฏว่ามีสมาคมชาวสวนยางอยู่ 3 สมาคม คือ สมาคมชาวสวนยางจังหวัดระยอง, ชลบุรี และภูเก็ต จึงรวบรวม 3 สมาคม จดทะเบียนเป็นสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2533 เพื่อส่งผู้แทนเข้าเป็นคณะกรรมการนโยบายยางแห่งชาติ ซึ่งจากการคัดเลือกนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ได้เป็นนายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย
และเป็นตัวแทนในคณะกรรมการนโยบายยางแห่งชาติ ซึ่งสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย
ได้มีนายกสมาคมฯ ตามรายชื่อดังนี้

  • นายอุทัย สอนหลักทรัพย์
  • นายสมศักดิ์ พงภัณฑ์ฑารักษ์
  • นายบุญส่ง นับทอง
  • นายสาฝีอี โต๊ะบู
  • นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ (นายกสมาคมฯ คนปัจจุบัน)

วัตถุประสงค์

  • เผยแพร่ข่าวสารและความรู้วิชาการยาง การแก้ไขปัญหายางพาราอย่างต่อเนื่อง
  • สมาชิกได้รับการช่วยเหลือการเพิ่มผลผลิตยาง มีรายได้เพิ่มขึ้น
  • บุตรหลานของสมาชิกได้รับการสนับสนุนให้เรียนต่อไทยและต่างประเทศ
  • ได้ช่วยเหลือในการติดต่อประสานงานกับภาครัฐและเอกชน สนองตอบต่อนโยบายของภาครัฐตลอดจนสามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ของสมาชิก

บทบาทหน้าที่ของสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย

  • ส่งเสริมให้ชาวสวนยางรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อร่วมกันคิดช่วยกันทำและเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดนวัตกรรม
  • พัฒนาในการผลิตยางพาราแบบครบวงจรทั้งต้นน้ำกลางน้ำและปลายน้ำ
  • ร่วมกัน นำเสนอปัญหาวิธีการแก้ไขและความต้องการของชาวสวนยางต่อภาครัฐ
  • รักษาสิทธิ์อันพึงได้รับของชาวสวนยางที่มีต่อภาครัฐและเอกชน 
  • เป็นอิสระไม่ขึ้นกับพรรคการเมืองหรือหน่วยงานใดใดเป็นตัวแทนของชาวสวนยางอย่างแท้จริง

ผลการดำเนินงานที่สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่ม พอสังเขป

  • จัดตั้งตลาดกลางยางพาราภาคตะวันออก ณ จังหวัดระยอง
  • เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งโรงงานต้นแบบเพื่อฝึกอบรมเกษตรกรอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ยางที่จังหวัดระยอง จังหวัดขอนแก่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดปัตตานี
  • เป็นประธานยกร่าง พรบ.การยางแห่งประเทศไทย
  • จัดประชุมเกษตรกรชาวสวนยางในอาเชี่ยน 8 ประเทศ โดยมีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
  • เป็นผู้เสนอการปลูกยาง 1 ล้านกล้า ในจังหวัดภาคอีสานและภาคเหนือ
  • แก้ปัญหาให้เกษตรกรชาวสวนยางที่มีปัญหายางตาสอย
  • แก้ปัญหาที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์ของ กยท.  เป็นสีชมพู
  • ร่วมมือกับ ปตท. SCG และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เรื่องคาร์บอนเครดิตในสวนยางเป็นอาชีพเสริมแก่เกษตรกรชาวสวนยาง
  • จัดมหกรรมยางพารา ครั้งที่ 1 ใน EEC
  • จัดเสนอให้ยางพาราอยู่ในคัตเตอร์ที่ 6 ตามคติ ครม.ฯ 9 สิงหาคม 2565
  • เสนอให้รัฐบาลแก้ปัญหาถุงมือยางที่โดนสหรัฐอเมริกาแบนถุงมือยางธรรมชาติ
  • เสนอให้กระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทย แก้ปัญหาภาษียางที่ตั้งกฎเกณฑ์สูง 80 ต้น/ไร่
  • ประสานงานเพื่อผลักดันการมอบทุนการศึกษาให้กับลูกหลานเกษตรกร :ทุนแลกเปลี่ยนไทย-จีนกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชิงเต่า
  • ผลักดันการพัฒนาหลักสูตรการเรียน การสอน รวมทั้งด้านวิจัยและพัฒนา (R & D) ในการใช้เทคโนโลยี รวมทั้งการใช้นวัตกรรมที่ทันสมัย เพื่อพัฒนาวงการยางพาราในภาคอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ยางพารา
  • เป็นตัวแทนของชาวสวนยางในการแก้ไขปัญหาเรื่องราคายางตกต่ำ  และผลักดันอุตสาหกรรมแปรรูปยางพารา และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์  ในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร อย่างต่อเนื่อง
  • ผลักดันการแก้ไขเรื่องคุณภาพของถุงมือยางในการส่งออกและส่งเสริมการปลูกยางพันธุ์ดี ปี 2565

นโยบายและแผนการขับเคลื่อนในอนาคต

ผลักดันให้มีการแปรรูปผลผลิตยางพาราภายในประเทศเป็นอุตสาหกรรมยางมากกว่าส่งวัตถุดิบยางพาราเป็นสินค้าออกคู่ไปกับดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้  รวมทั้งร่วมขับเคลื่อนให้มีการตรวจวัดคาร์บอนด้วยนวัตกรรมและสามารถซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตเป็นอาชีพเสริมให้แก่เกษตกร ให้เป็นวาระแห่งชาติก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางตลาดยางพารา  (Hub) ของโลกในอนาคต