Categories
สยท-news

“เซาท์แลนด์ฯ” ชิงประมูลยางแผ่น 63.09 บาท ทำนิวไฮ รอบ 2 ปี

ชาวสวนเฮ โรงงานน้ำยางข้น-ยางแผ่น เปิดศึกแย่งซื้อ ดันราคาพุ่ง “เซาท์แลนด์ฯ” ชิงประมูลยางแผ่น 63.09 บาท ทำนิวไฮ รอบ 2 ปี ขณะ “เพิก” ยังฝันต่อยางกิโลฯละ ไม่ต่ำกว่า 100 บาท

นายเพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (ประธานบอร์ด กยท.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า วันที่ 16 มกราคม 2567 บริษัท เซาท์แลนด์รับเบอร์ จำกัด ได้เข้าไปประมูลซื้อยางพาราในสำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่กิโลกรัม(กก.)ละ 63.09 บาท ทำนิวไฮสูงสุดรอบ 2 ปี เป็นผลสืบเนื่องจากสมาคมยางพาราไทย ได้เข้ามาหาที่สำนักงานฯ และมีบางรายที่ได้ไปเยี่ยมถึงที่บริษัท ได้มีการพูดคุยกันถึงแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายราคายางตามนโยบายของร้อยเอกธรรมนัส  พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะมุ่งส่งเสริมยางพาราตามข้อกำหนดของ The EU Deforestation-free Regulation (EUDR) หรือยางที่ไม่ทำลายป่าหรือสิ่งแวดล้อมที่จะเป็นตัวชี้นำราคายางโลก

“ประเทศที่จะทำยาง EUDR ในโลกได้ คือ ประเทศไทย และองค์กรที่จะทำได้ในประเทศไทยก็คือ กยท. ดังนั้นความชัดเจนที่ส่งสัญญาณชัดไปถึงผู้ประกอบการก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ ถ้ามุ่งไปทำสวนยางให้ตอบโจทย์ EUDR ให้กับต้นไม้ยางพาราทุกต้นในประเทศได้ ราคาตลาดที่ไม่ใช่เป็น EUDR จะมีส่วนต่างไม่ต่ำกว่า 3 บาท/กก. อาจจะไปแตะราคาขึ้นไปสูงถึง 5 บาทได้ด้วย เพราะเป็นความต้องการของคนทั้งโลกที่เรียกหา EUDR ”

นายเพิก กล่าวอีกว่า ราคายาง ตนอยากจะผลักดันทำให้เกษตรกรได้รับประโยชน์เหมือนถูกหวย 3 ตัวตรง ไม่ใช่ 2 ตัวท้ายอีกต่อไป โดยอาศัยในเรื่องการบริหารจัดการ และความเป็นไปได้ ซึ่งต้องขอขอบคุณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ที่ให้โอกาสในการให้มาทำงานเพื่อพี่น้องชาวสวนยาง

“วันนี้คนที่ไปยุ่งเกี่ยวกับยางเถื่อน โรงงานหลายโรงก็รับปากแล้วว่าจะไม่รับซื้อ ดังนั้นพวกยี่ปั้วหากนำยางเถื่อนเข้ามาขายก็ให้ระวังไว้ว่าจะขาดทุน เพราะจะเอาไปขายที่ไหนไม่ได้”

ด้านนายชูวิทย์  จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER กล่าวถึงสถานการณ์ยางพาราในช่วงนี้ว่าได้ปรับราคาขึ้น เป็นผลจากผู้ประกอบการเกรงว่าซัพพลายจะขาดแคลน รวมถึงจากปัญหาน้ำท่วมในภาคใต้ ขณะนี้เวลานี้ได้เข้าสู่ปลายฤดูกรีดยางที่จะเข้าสู่ฤดูแล้งแล้ว ต้องเร่งซื้อของเพื่อส่งมอบให้กับลูกค้า ซึ่งมองว่ายางแผ่นอาจจะมีโอกาสราคาปรับตัวสูงขึ้นถึง 65 บาท/กก. มีความเป็นไปได้ อย่างไรก็ดีจากภาวะเอลนีโญ ไม่มีใครกล้าประมาณการในเรื่องผลผลิต ดังนั้นในช่วงนี้ถ้ามีผลผลิตก็เร่งซื้อเพื่อลดความเสี่ยงไว้ก่อน เพราะไม่แน่ใจว่าในอนาคตจะมีผลผลิต

สอดคล้อง นายพงศ์นเรศ  วนสุวรรณกุล นายกสมาคมน้ำยางข้นไทย กล่าวว่า ซัพพลายยางพาราในช่วงนี้ ปริมาณน้ำยางมีน้อยมาก ผู้ประกอบการแย่งกันซื้อ ทำให้บางพื้นที่ราคาน้ำยางสดปรับสูงถึง กก.ละ 60 บาท  ขณะที่ผู้ค้ารายใหญ่ (จีน) ยังชะลอรับซื้อ ขณะที่มองว่ากำลังเข้าสู่ฤดูยางผลัดใบแล้ว ถ้าในช่วงนี้ไม่รีบซื้อ ก็ห่วงว่าเดือนกุมภาพันธ์จะไม่มียาง และปีนี้ก็คาดว่าจะแล้งยาว อาจจะส่งผลทำให้น้ำยางไม่มีในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ดังนั้นจึงเป็นที่มาทำให้ทุกคนต้องเร่งซื้อกัน จะขายได้หรือไม่ได้ ก็ต้องซื้อไว้ก่อนเพื่อป้อนให้กับลูกค้าประจำ

ด้านนายอุทัย  สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย กล่าวถึง ราคายางมีแนวโน้มปรับขึ้น จากที่ทุกประเทศที่ปลูกยาง ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ประสบปัญหาโรคใบร่วง ทำให้ผลผลิตในประเทศลดลงมาก รวมทั้งประเทศไทยด้วย  ได้ส่งผลกระทบแล้วโดยเฉพาะผู้ค้ารายใหญ่วิกฤตไม่สามารถหายางส่งให้ลูกค้าตามคำสั่งซื้อได้ ตอนนี้ก็ต้องออกไปกว้านหาซื้อตามประเทศต่าง ๆ เพื่อส่งมอบให้ลูกค้า ซึ่งจะเห็นว่าวิกฤตขาดในปีนี้รุนแรงจริง ดังนั้นราคายางปรับขึ้นก็นับว่าเป็นโอกาสดี สำหรับผู้บริหารที่เข้ามาบริหารยางทั้งประเทศ ซึ่งก็ขอให้ดีตลอดไป

“ใครก็ได้ที่มาทำให้ราคายางดี ผมก็คิดว่าเป็นประโยชน์กับเกษตรกร ก็ขอให้ยั่งยืน ราคามีเสถียรภาพ อีกด้านหนึ่งก็เป็นผลดีกับรัฐมนตรีเกษตรฯ และบอร์ด ที่เข้ามาบริหารยางพาราในช่วงนี้ที่เข้ามาดูแล สิ่งที่จะต้องทำก็คือในการวางแผนระยะยาว อาทิ เปลี่ยนพันธุ์ยาง และการขายคาร์บอนเครดิต  รวมทั้งปลูกพืชร่วมยาง ทำผลิตภัณฑ์ยางให้เป็นอาชีพเสริมและมีรายได้ถาวร ในช่วงที่ชาวสวนยางไม่ได้กรีดยาง แต่ก็เห็นอยู่ว่า กยท.ก็ดำเนินการอยู่หลายมาตรการ รวมถึงการทำโฉนดต้นไม้ยางนำมาค้ำประกันเงินกู้ ก็ดีทำให้เกษตรกรมีทางออก  ซึ่งตามแผน กยท.จะเป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด แม้กระทั่งผลิตภัณฑ์ล้อยาง และก็ขอให้เป็นไปตามคำพูดที่ได้ให้สัญญาไว้  แค่ทำให้เกษตรกรมีความสุข ผมก็พอใจแล้ว”

Retrieved from
https://www.thansettakij.com/business/trade-agriculture/586003
Categories
สยท-news

ดัน “สวนยางระยอง” ขาย CO2 วรุณาเครือ ปตท.ดึง 2 หมื่นไร่รับมือ CBAM

Retrieved from https://www.prachachat.net/local-economy/news-1464996

วรุณาเครือ ปตท.ผนึกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางฯ-กยท.ดัน “สวนยาง จ.ระยอง” 2 หมื่นไร่ นำร่องขายคาร์บอนเครดิต ก่อนชง อบก.อนุมัติขายคาร์บอนเครดิตให้ทันกลางปี 2567

ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ทางสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทยเตรียมจัดงาน “มหกรรมยางพาราและเกษตรแฟร์ไทย-จีน EEC 2024” ระหว่างวันที่ 5-15 เมษายน 2567 ที่จังหวัดระยอง โดยมีเครือข่ายชาวสวนยางพารา หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงมหาวิทยาลัยชิงเต่า ประเทศจีน ฯลฯ เข้าร่วม ที่สำคัญภายในงานจะเปิดให้เกษตรกรมาลงทะเบียนซื้อขายคาร์บอนเครดิตยาง

โดยมี บริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด หรือ VARUNA ผู้ให้บริการเทคโนโลยีอัจฉริยะในภาคการเกษตรและสิ่งแวดล้อม ภายใต้การกำกับดูแลของบริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส หรือ ARV ในเครือ ปตท.สผ., บริษัท SCG ปูนซิเมนต์ และธนาคารกรุงไทย มาร่วมดำเนินการ

โดยมีการเปิดอบรมให้ความรู้ในการดำเนินการโครงการคาร์บอนเครดิตสวนยางไปตลอดงาน การเข้าร่วมโครงการจะทำให้ชาวสวนยางมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายคาร์บอนเครดิต

“ที่ผ่านมา กยท.ระยองได้มีการนำร่องโครงการซื้อขายคาร์บอนเครดิต โดยทางบริษัท วรุณาในเครือ ปตท.ได้เข้ามาช่วยสำรวจเก็บข้อมูลต่าง ๆ เรื่องการกักเก็บคาร์บอนในสวนยางไประดับหนึ่งแล้ว ก่อนที่จะขยายผลไปยังสวนยางทั่วประเทศต่อไป” ดร.อุทัยกล่าวและว่า

สำหรับการจัดงาน “มหกรรมยางพาราและเกษตรแฟร์ไทย-จีน EEC 2024” ภายในงานมีการจัดอบรมสัมมนาวิชาการและแสดงนวัตกรรมเกี่ยวกับยางพารา งานแสดงเครื่องจักรผลิตยางแปรรูปยางทันสมัย มีการจับคู่ธุรกิจการซื้อขายผลิตภัณฑ์ยางทุกรูปแบบ ยางก้อนถ้วย น้ำยางสด ยางรมควัน ยางแท่ง ฯลฯ

นายองค์กรณ์ รจนา ผู้ช่วยผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดระยอง เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ทาง กยท.จังหวัดระยองได้นำร่องดำเนินการโครงการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตสวนยางมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566

โดยมีการหารือกับสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย และบริษัท วรุณา มาร่วมกันดำเนินโครงการ และมีการประสานงานกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. เกี่ยวกับรูปแบบวิธีปฏิบัติในการบริหารจัดการสวนยาง ตามเป้าหมายโครงการตั้งเป้าต้องการให้มีเกษตรกรเข้าร่วมประมาณ 20,000 ไร่

ปัจจุบันมีเกษตรกรชาวสวนยางที่อยู่ในพื้นที่ อ.เมือง และ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เข้าร่วมประมาณ 7,000 ไร่ และคาดว่าภายในไตรมาส 1 ของปี 2567 จะมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการครบตามเป้าหมาย

“ที่ผ่านมา กยท.มีโครงการสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการโค่นไม้ยางพาราเก่าและปลูกใหม่ทดแทน โดยสามารถยื่นคำร้องรับเงินสนับสนุนการปลูกแทนจาก กยท.อัตราไร่ละ 16,000 บาท เราจะดึงเกษตรกรกลุ่มนี้มาเข้าร่วม จะทำให้ครบ 2 หมื่นไร่

การกำหนดเป้าหมายที่ 20,000 ไร่ เพราะมีตัวอย่างบทเรียนจากผู้บริหาร สปป.ลาวที่เคยทำโครงการขายคาร์บอนเครดิตมาตั้งแต่ 9 ปีที่แล้ว ได้นำโมเดลที่เคยทำในพื้นที่ 2,500 ไร่ ต้องใช้เวลา 9 ปีถึงจะคืนทุน จึงมีการคิดต่อยอดจากโมเดลดังกล่าวว่า ถ้าทำในพื้นที่สวนยาง 20,000 ไร่ เกษตรกรสามารถคืนทุนในการบริหารจัดการได้เร็ว

และสามารถจ่ายเงินให้เกษตรกรได้เร็วภายใน 3 ปี โดยปีแรกเป็นช่วงการเก็บข้อมูลพื้นฐาน ปีที่ 2 เก็บข้อมูลเพื่อประเมินคาร์บอนเครดิต ปีที่ 3 มีการประเมินคำนวณได้ว่า แต่ละสวนยางมีปริมาณกักเก็บคาร์บอนได้เท่าไหร่ ตามกติกาและกฎเกณฑ์ที่ อบก.กำหนด

ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการเปิดรับสมัครเกษตรกรชาวสวนยางเข้าร่วมโครงการ หลังจากนั้นมีการอบรม เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกร ว่ายังไม่ได้เงินจากการขายคาร์บอนเครดิตทันที ต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ปีที่ 3 ถึงเริ่มขายได้

ทั้งนี้ ตามกรอบโครงการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตสวนยางทั้งหมดของ กยท. จ.ระยอง จะต้องแล้วเสร็จและนำเสนอให้ อบก.อนุมัติภายในกลางปี 2567 เพื่อเสนอขายคาร์บอนเครดิต เพื่อให้ทันกับมาตรการที่สหภาพยุโรปเริ่มบังคับใช้มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism : CBAM) 6 กลุ่มสินค้าคือ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ ปุ๋ย ไฟฟ้า และไฮโดรเจน

นายองค์กรกล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันทั้งจังหวัดระยองมีพื้นที่ปลูกยางที่มีเอกสารสิทธิที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. ประมาณ 3.5 แสนกว่าไร่ และไม่มีเอกสารสิทธิประมาณ 7 หมื่นไร่ ที่ผ่านมาบริษัท วรุณา ได้เข้ามาสำรวจ และมีการประเมินพื้นที่ปลูกยางพาราเบื้องต้นในจังหวัดระยอง ด้วยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศประเมินค่าเฉลี่ยอายุการปลูกยาง 10-15 ปี พบว่ามีการกักเก็บคาร์บอนประมาณเกือบ 2 ตันคาร์บอนต่อไร่ต่อปี

หลังจากหักการใช้ปุ๋ยเคมีและสิ่งต่าง ๆ ในสวนยาง อย่างไรก็ตาม หลังจากนำร่องโครงการในระยองแล้ว จะขยายไปยังจังหวัดต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคตะวันออก เช่น ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ต่อไป

Categories
สยท-news

นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ระดมสมองผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสวนยางพาราในเขตภูมิภาคให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย  ระดมสมองผู้เชี่ยวชาญด้านยางพารา  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสวนยางพาราในเขตภูมิภาคให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ดร.อุทัย  สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย  เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดเวทีเสวนา  “การพัฒนาสวนยางพาราสู่สัมมาชีพชุมชน” ว่า  เป็นการประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2566   จัดขึ้นโดยสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์  คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมศาสตร์  เนื่องในโอกาสงานเกษตรแม่โจ้ ครบรอบ 90 ปี  ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้  อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่  ทั้งนี้  ในเวทีเสวนาวิชาการดังกล่าวได้นำเสนอ “หลักการและแนวทางการพัฒนาสวนยางยั่งยืน”  จาก ดร.วิทยา พรหมมี หัวหน้ากองวิจัยและพัฒนาการผลิตยาง สถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย  และการนำเสนอ ”แนวทางการส่งเสริมสนับสนุนให้ทุนปลูกแทนสวนยางยั่งยืน” จากนายพยนต์ แสงเทศ หัวหน้ากองส่งเสริมการปลูกแทนและปลูกใหม่ ฝ่ายส่งเสริมและการพัฒนาการผลิต รวมทั้ง การนำเสนอ ”แนวทางการปฏิบัติงานในพื้นที่เพื่อตอบโจทย์การบริหารจัดการสวนยางยั่งยืน”  จากนายองค์กรณ์ รจนา ผู้ช่วยผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดระยอง รวมทั้งการนำเสนอ ”แนวทางการพัฒนาสถาบันเกษตรกรเพื่อความยั่งยืนในสัมมาชีพ” จากนายดิษฐเดช วัฒนาพร ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร  ซึ่งการเสวนาวิชาการครั้งนี้เป็นอีกก้าวหนึ่งที่จะนำไปสู่การพัฒนาสวนยางพาราในเขตภูมิภาคต่าง ๆ ที่มีการปลูกยางของไทยในอนาคต

นอกจากนี้  สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ยังได้สนับสนุนมอบทุนการศึกษาจากคุณเอนก บุตรโสภา  ประธานยุทธศาสตร์ ด้าน CSR  สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย   ประสานบริษัท นพรุจ  รีไซเคิล จำกัด เพื่อมอบให้แก่นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์  จำนวน 12 คน  แบ่งเป็นประเภทเรียนดี 2 ทุน  และประเภทขาดแคลนทุนทรัพย์ 10 ทุนอีกด้วย

Categories
สยท-news

รายการเสวนาภาษาเกษตร | 23.10.66 | MVTV Thailand

Categories
FRPAT สยท-news

คณะกรรมการสมาคมสหพันธ์ยางไทย นำลูกหลานชาวสวนยางที่ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชิงเต่าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน

Categories
FRPAT สยท-news

สวนยาง 21 ล้านไร่ ช็อก! “ปลูกขั้นตํ่า 80 ต้น/ไร่” ต้องเสียภาษีที่ดิน

ช็อก “กรมปกครองส่วนท้องถิ่น” ยันปลูกยางขั้นตํ่า 80 ต้นต่อไร่ ต้องเสียภาษีที่ดิน กระทบเกษตรกรจ่ายภาษีบาน ระบุสวนยาง 21 ล้านไร่ยังไม่รู้เรื่อง สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางฯ เตรียมยื่นเรื่องศาลปกครองกลาง เปิดไต่สวนฉุกเฉิน ระบุขัด พ.ร.บ.การยางฯ หวั่นเติมเชื้อไฟราคายางตกตํ่า

Categories
สยท-news

รายการเสวนาภาษาเกษตร | ยุทธศาสตร์การบริหารด้านผู้นำยางพาราแห่งประเทศไทย | MVTV Thailand

Categories
สยท-news

นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เชื่อมโยงด้านการตลาดสินค้าเกษตรในเขต EEC เพื่อร่วมพัฒนาสินค้าเกษตร และการแปรรูปให้ได้คุณภาพ


นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย พร้อมคณะ ได้เข้าพบนายประสิทธิ์ ดำรงชิตานนท์ รองประธานกรรมการ ธุรกิจพืชครบวงจร ข้าว ขนส่งและบริการเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อหารือแนวทางการเชื่อมโยงการด้านการตลาดทั้งด้านยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพด และทุเรียน ในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC) จังหวัดระยอง เพื่อให้เป็นไปตาม 5 คลัสเตอร์ ประกอบด้วย ผลไม้ ประมง พืชสำหรับอุตสาหกรรมชีวภาพ พืชสมุนไพร เกษตรมูลค่าสูง และคลัสเตอร์ที่ 6 ยางพารา ล่าสุด ได้ผ่านการพิจารณาจากสำนักนายกรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว พร้อมกันนี้ ได้เสนอโครงการต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น โครงการอิ่มท้องสมองดี (อาหารกลางวันเด็ก)โครงการเกษตรปลอดภัยครัวไทยสู่ครัวโลก โครงการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงงาน(CSR) คาร์บอนเครดิตในสวนยาง การจัดงานมหกรรมยางพาราไทย-จีน ครั้งที่ 2 จังหวัดระยอง และเชิญร่วมศึกษาดูงานด้านยางพารา ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างไรก็ตาม การเข้าพบครั้งนี้เป็นการเชื่อมโยงและต่อยอดในการพัฒนาสินค้าเกษตร การแปรรูปให้ได้คุณภาพ และได้มาตรฐานตามกระบวนการผลิตอย่างเป็นระบบ

CR: กัญญ์พรภัสร์ เอี่ยมมีชัย/ผู้สื่อข่าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา/รายงาน

Retrieved from https://arunnewsalannews.blogspot.com/2023/07/eec.html?m=1

Categories
สยท-news

รายการเสวนาภาษาเกษตร | การรักษาเสถียรภาพยางพารา | MVTV Thailand

Categories
สยท-news

รายการเสวนาภาษาเกษตร | ค่าแรง 450 กระทบกับภาคเกษตรอย่างไร? | MVTV Thailand